การลงทุนอสังหาริมทรัพย์โครงการน้อยใหญ่ไม่ว่าจะเป็น
"บ้านเดี่ยว", "บ้านแฝด", "ทาวเฮ้าส์", "อาคารพาณิชย์", "โฮมส์ออฟฟิศ", "มินิอพาร์ทเม้นท์", "อพาร์ทเม้นท์", "บูทิคอพาร์ทเม้นท์", "เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์", "บูทิคโฮเทล",
"โรงแรม", "รีสอร์ท", "คอนโดมิเนียม", "บ้านจัดสรร" ฯลฯ ไม่ว่าจะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนมากหรือน้อยเพียงใดสำหรับผมแล้วทุกโครงการจะต้องเป็น
"นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์" หรือ "Real
Estate Innovation" เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด เป็นเสมือนการเตรียมการที่จะกลัด "กระดุมเม็ดแรก" ซึ่ง "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเป็น "เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา" ได้เคยสอนผมครั้งเมื่อผมทำงานกับ "มูลนิธิชัยพัฒนา"
ว่า "กระดุมเม็ดแรก หากกลัดผิด
กระดุมเม็ดที่ 2,3,4 ถัดมา ถึงจะตั้งใจทุ่มเททั้งความรู้ความสามารถมากเท่าไรก็จะผิดหมด" ดังนั้นการตั้ง "สมมุติฐาน" (Hypothesis)
ที่มีความเป็นไปได้จะต้องมาจากพื้นฐานของความเป็น "นวัตกรรม" อันเป็นความคิด
"สร้างสรรค์" เท่านั้น และ "นวัตกรรม"
จำนวนไม่น้อย ล้วนแล้วแต่เป็น "นวัตกรรม" ที่คิด "นอกกรอบ" นำมาซึ่งการปฏิวัติและปฏิรูปทั้งในด้านศิลปะและวิทยาการครั้งสำคัญและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้กับโลก เช่น "Smart
Phone" ที่ "สตีฟ จอบส์" เป็นผู้คิดค้น "นวัตกรรม"
ชิ้นนี้ขึ้นได้
ส่งผลกระทบในมุมกว้างไปทั่วโลก และเมื่อ
"นวัตกรรม" ได้เกิดแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับมาอีกครับ
บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับแนวหน้าของโลกก็ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าแห่ง "นวัตกรรม" ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย "พื้นฐานความรู้"
และ "การลงทุน" ถ้าหากผลงานวิจัย
ค้นคว้าชิ้นเยี่ยมจบลงแค่วิทยานิพนธ์
1 หรือ 2 เล่ม ในห้องสมุดก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดในวงกว้าง เป็นได้เพียงแค่บทความที่กล่าวอ้างถึงในวงวิชาการ ที่ทำอะไรไม่ได้ ทำอะไรไม่เป็น เป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด" ดังนั้น
"นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์" ในมุมมองของผมจะต้องก่อให้เกิดผลกระทบทั้งแนวกว้างและลึกและก่อให้เกิดรายได้นำมาซึ่ง "ประโยชน์" และ "ความสุข" ให้แก่เจ้าของ "นวัตกรรม" เองและแก่สังคมโดยรวมครับ
ผมยกตัวอย่าง "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ "นวัตกรรม"
ในการก่อสร้าง "ระบบสำเร็จรูป" ("Pre-Fabrication" ) ซึ่งได้เข้ามาอย่างแพร่หลายอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียง
10 กว่าปี โดยเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน, การควบคุมคุณภาพ,
การควบคุมเวลาและการควบคุมการใช้ทรัพยากร
นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนใน "นวัตกรรม" ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการลงทุน
"อสังหาริมทรัพย์"
หลังจากที่ได้ตัดสินใจลงทุนทำแน่แล้ว จำเป็นต้องหา "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์" ที่ทำให้มีชัยชนะเหนือคู่แข่ง แบบ "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ซึ่ง "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
ทั้ง 8 ข้อ
ประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้

นวัตกรรมข้อที่ 1 "Real
Estate Hypothesis Innovation" ซึ่งหมายถึง
การสร้าง "สมมุติฐาน" ซึ่งนำไปสู่การสร้าง "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 2 "Real
Estate Feasible + Business Model Innovation" ซึ่งหมายถึง การศึกษาความเป็นไปได้และโมเดลธุรกิจที่เป็น
"นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 3
"Real Estate Architectural Design Innovation" ซึ่งหมายถึง รูปแบบทางสถาปัตยกรรมซึ่งเป็น "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 4 "Real
Estate Construction Innovation" ซึ่งหมายถึง
ระบบการก่อสร้างที่เป็น "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 5 "Real Estate Working Process Innovation" ซึ่งหมายถึง
ขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบในการพัฒนา "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 6 "Real
Estate Marketing + Service Innovation" ซึ่งหมายถึง การทำตลาดและการให้บริการต่าง ๆ
แก่ลูกค้า ที่เป็น "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
นวัตกรรมข้อที่ 7 "Real Estate Flexible Innovation" ซึ่งหมายถึง
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม
เปลี่ยนไปของ "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์" นวัตกรรมข้อที่ 8 "Real
Estate Assessment
Innovation" ซึ่งหมายถึง กระบวนการตรวจสอบและประเมินสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาในการพัฒนา
"นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์"
ซึ่ง "นวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์" ทั้ง 8
ข้อนี้แหละครับที่ผมจำเป็นต้อง "หาให้ได้ หาให้เจอ หาให้พบ" ก่อนตัดสินใจลงทุนทำ "อสังหาริมทรัพย์"
ไม่ว่าจะเป็นโครงการน้อยใหญ่ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการกลัด
"กระดุมเม็ดแรก" ของผม ซึ่งหากน้อยกว่านี้ก็ไม่เอา จะต้องทำอย่างน้อยให้ได้เท่านี้หรือทำได้มากกว่านี้ ท่านผู้อ่านก็ลองนำเอาไปพิจารณากันดูครับ และนำไปปรับประยุกต์ใช้ก็น่าจะเกิดประโยชน์ผมลองนำไปปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองแล้วเกิดผลดีเป็นอย่างยิ่งครับ
|